3 อาการเด่น เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ ! พร้อมเคล็ดลับ ดูแลอย่างไรไม่ให้ปอดบวม !

Last updated: 19 มี.ค. 2564  |  2764 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 

สวัสดีค่ะทุกคน ลมเย็น ๆ พัดผ่านไปเร็วจังเลยนะคะ คูลแคปชอบอากาศหนาวที่สุดเลย แต่ก็ไม่ชอบเลย ที่ต้องเห็นคนไทยเป็นไข้หวัดใหญ่ ปีละกว่า 300,000 คน และยังมีคนเสียชีวิตหลายสิบรายทุกปีด้วยนะคะ

 

1. ไข้หวัดใหญ่ติดได้ตลอดทั้งปี

ในช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะประเทศที่มีอากาศหนาว เราจะเห็นข่าวว่า พบคนเป็นไข้หวัดใหญ่เพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงอื่นของปี และมีการติดเชื้อจนทำให้ปอดบวม (Pneumonia) ถึงขั้นต้องดูแลในโรงพยาบาลเลยก็มี แต่ทราบไหมคะว่า ที่จริงแล้วคุณสามารถเป็นโรคนี้ได้ตลอดทั้งปี ไม่มีเว้นวันหยุดเลยนะคะ

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

 

2. ไข้หวัดใหญ่ติดกันได้ ง่ายกว่าที่คิด

เชื้อที่ทำให้ติดโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นไวรัสในกลุ่ม Orthomyxoviridae ซึ่งเป็นไวรัสที่มีเปลือกนอกหุ้ม (Encapsulated Virus) ทำให้ทนต่อสภาพแวดล้อม และความร้อนได้ดี จึงมีชีวิตอยู่ได้นาน และมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อได้มากกว่า

 

ไข้หวัดใหญ่ติดกันได้ ง่ายกว่าที่คิด

 

หากคุณสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย  หรือเสมหะของผู้ป่วย จะทำให้คุณได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่เข้าไป แม้แต่การจับโทรศัพท์ รีโมทโทรทัศน์ ลูกบิดประตู เบาะที่นั่งรถยนต์ที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ป่วย แล้วบังเอิญเอามือมาลูบหน้า ลูบจมูกตัวเอง ก็ทำให้คุณติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ ไม่ยากเลยนะคะ

เพราะฉะนั้นคูลแคป ขอแนะนำให้พกเจลแอลกอฮอล์ ล้างมือติดตัวไว้ ปลอดภัยที่สุดค่า แล้วทีนี้จะทราบได้อย่างไรว่า ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่แล้ว?

 

3. สัญญาณแรก ของอาการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

หลังจากไวรัสไข้หวัดใหญ่เข้าสู่ร่างกาย จะใช้เวลาแบ่งตัวประมาณ 4-6 ชั่วโมง และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อฝังตัวเข้าไปในทางเดินหายใจของเรา โดยใช้เวลาฟักตัว 18-72 ชั่วโมงก่อนจะเริ่มมีอาการไข้หวัดใหญ่ชัดเจน โดยจะเริ่มอ่อนเพลีย (Malaise), ปวดเมื่อยตามตัว (Myalgia), มีไข้ Fever, Pyrexia)

 

สัญญาณแรก ของอาการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

 

นอกจากนี้ผลจากการติดเชื้อ ทำให้ร่างกายมีการอักเสบ จึงตอบสนองด้วยการสร้างสารเคมีชนิดหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกัน ชื่อว่า ไซโตไคน์ (Cytokine) ออกมาในกระแสเลือด ยิ่งส่งเสริมให้ดูอ่อนล้า อ่อนเพลีย หรือมีอาการไข้ ชัดเจนขึ้นไปอีกด้วย

 

4. 3 อาการเด่น เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่

ถึงมีชื่อว่า ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) แต่อาการไข้หวัดใหญ่ที่เด่นในระยะแรก กลับไม่ใช่ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก กลายเป็นอาการ “ ไข้ ปวดหัว ตัวเมื่อย ” ที่โดดเด่นชัดเจนกว่า

 

 

ไข้ : ผู้ติดเชื้อจะมีไข้สูงลอย (Continuous / Sustained Fever) คือไม่มีช่วงที่อุณหภูมิหายกลับเป็นปกติเลย อุณหภูมิจะสูงอยู่ที่ 38-41˚C[1] โดยเฉพาะในช่วง 1-3 วันแรกหลังจากได้รับเชื้อ

ปวดหัว : คนไข้ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการปวดศีรษะบริเวณหน้าผากค่อนข้างเด่น แต่ก็สามารถปวดทั้งศีรษะได้เช่นกัน บางรายมีอาการปวดตา บ่นแสบตา ตาร้อนร่วมด้วย

ตัวเมื่อย : อาจเป็นอาการไข้หวัดใหญ่ที่ชัดเจนที่สุดเลยก็ว่าได้ คูลแคปเชื่อว่า หากใครเคยเป็นจะรู้ว่า ปวดเหมือนตัวจะแตกออก เหมือนกล้ามเนื้อระเบิดให้ความรู้สึกเช่นไร โดยเฉพาะช่วงขา และเอว (Lumbosacral Area) จะปวดรุนแรงที่สุด จนไม่อยากขยับตัวลุกไปไหนเลยค่า

ส่วนอาการผิดปกติของทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูกใส จะเริ่มชัดเจนขึ้นประมาณวันที่ 5-7 ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงที่ไข้เริ่มลง และอาการปวดเมื่อยตัวเริ่มดีขึ้นแล้ว อาจพบว่า มีอาการไอได้นาน 1-2 สัปดาห์ แม้ว่าจะหายจากการติดเชื้อแล้วก็ตาม

ถ้าใครลองคลำที่ลำคอทั้ง 2 ข้างอาจพบว่า มีต่อมน้ำเหลืองโดขึ้น กดเจ็บบริเวณก้อนเล็กน้อย ซึ่งเป็นการตอบสนองปกติของการติดเชื้อในคอ หรือทางเดินหายใจ ซึ่งควรหายไปหลังจากอาการดีขึ้นนะคะ อาการเหล่านี้ หากเกิดในกลุ่มเสี่ยง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนปอดบวมเลยก็ได้นะคะ

 

5. เป็นไข้หวัดใหญ่ไม่ใส่ใจ ลุกลามไกลไปถึงปอดบวม

 

เป็นไข้หวัดใหญ่ไม่ใส่ใจ ลุกลามไกลไปถึงปอดบวม

 

ภาวะปอดบวม หรือปอดอักเสบติดเชื้อ (Pneumonia) ทำให้มีสารคัดหลั่งคั่งในปอด ทำให้หายใจไม่สะดวก เป็นภาวะแทรกซ้อนสำคัญ ที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิต พบได้บ่อยในคนที่มีอายุ > 65 ปี หรือในเด็กอายุ < 2 ขวบ คนอ้วน (BMI > 30 กก./ม.2) หญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอด 14 วัน รวมถึงผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกัน หรือเป็นโรคเรื้อรังอยู่เดิม เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคไตวาย ผู้ป่วยเอดส์ หรือคนที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน

 

คนกลุ่มเสี่ยงที่กล่าวถึงนี้ ควรได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (Oseltamivir)[2] ภายใน 48 ชั่วโมง หรือช้าสุดภายใน 5 วัน เพื่อชะลอหรือหยุดการดำเนินของโรค และป้องกันการกลายเป็นปอดบวมที่รุนแรงได้

 

แม้แต่คนสุขภาพแข็งแรง ที่ได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จำนวนมาก โดยไม่ได้รักษา อาจทำให้เกิดปอดบวม หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมาได้เหมือนกันนะคะ ไม่อยากเป็นไข้หวัดใหญ่ ไม่อยากเป็นไกลไปจนปอดบวม ทำไงดี?

  

6. ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่

นอกจากการพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง, ดื่มน้ำประมาณ 2 ลิตรต่อวัน, ทานผักผลไม้เพิ่มวิตามิน และล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ แล้ว การได้รับสมุนไพรสกัดจากธรรมชาติ 100% เป็นอีกตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพนะคะ

 

ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่

 

อย่างเช่น สมุนไพรแคปซูล คูลแคป มีสารสกัดจากบอระเพ็ด, ผักกาดน้ำ, ส้มซ่า และโกศน้ำเต้า ซึ่งจะช่วยบรรเทาไข้ ลดอาการอักเสบ แก้เจ็บคอ และปรับสมดุลด้วยการขับความร้อนออกจากร่างกาย กินวันละ 2 เม็ดเช้า-เย็น ลดอาการไข้หวัดใหญ่ โดยลดความเสี่ยงของการเป็นไข้ ห่างไกลจากปอดบวมนะคะ

โดยเฉพาะสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ในบอระเพ็ด ช่วยออกฤทธิ์ยับยั้งไซโตไคน์ ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้ได้ดีทีเดียวค่ะ

 

มีคูลแคปไว้ ห่างไกลไข้ บ๊ายบายปอดบวมได้เลยค่า หาซื้อได้ที่ Boots, Watsons, Fascino หรือตัวแทนจำหน่ายทั่วไป หรือสะดวกช่องทางออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์คูลแคป KoolCapp, Facebook KoolCapp ก็ได้นะคะ วันนี้คูลแคปขอตัวไปไล่ไข้หวัดใหญ่ต่อนะคะ สวัสดีค่า

 

7. การอ้างอิง

[1]   Jameson JL, Fauci AS, Kasper DL, Hauser SL, Longo DL, Loscalzo J. Harrison's Pulmonary and Critical Care Medicine, 3th Ed. In: Loscalzo J, editor. Influenza. New York: McGraw-Hill Education; 2017.

[2]   คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ. Clinical Practice Guideline for Influenza. คู่มือแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุข ในการรักษาและดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ หรืออาจติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: http://odpc9.ddc.moph.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้