Last updated: 25 พ.ค. 2564 | 1719 จำนวนผู้เข้าชม |
เคยสังเกตไหมว่า ทำไมเวลาเจอแดด หรืออยู่ในบริเวณที่อากาศร้อนมาก ๆ จะรู้สึกอ่อนเพลีย, ไม่มีแรง, เวียนศีรษะ บางครั้งมีอาการคลื่นไส้อาเจียน, หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ยิ่งถ้าต้องออกแรงทำงาน, ออกกำลังกายกลางแดดด้วยแล้ว ยิ่งรู้สึกเพลีย ร้อนจนแทบจะยืนหลับได้เลยทีเดียว นั่นอาจเป็นส่วนหนึ่งของอาการเพลียแดด หรือภาวะเพลียจากความร้อน (Heat Exhaustion) ที่คุณเคยผ่านมาแล้วแบบไม่รู้ตัว ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการหมดสติได้ อาจได้รับอุบัติเหตุขณะล้มลงได้ จึงควรรู้จักวิธีดูแลตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้น
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 10-15 แก้ว เพราะถ้าร่างกายขาดน้ำ (Dehydration) จะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดอาการอ่อนเพลียจากแดดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้หมดสติได้ง่าย จึงควรดื่มน้ำอย่างน้อย 2 แก้วก่อนการสัมผัสแสงแดด หรืออากาศร้อน อาจเลือกดื่มน้ำผลไม้เย็น เพื่อเพิ่มเกลือแร่ให้กับร่างกาย
หากเลือกได้ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่อบอ้าว มีความร้อนและความชื้นสูง ไม่มีลมพัด หรือหลีกเลี่ยงการทำงานที่ไม่จำเป็น หรือการออกกำลังกาย ในขณะที่อากาศร้อนมาก หรือแดดจัด
จัดให้มีเวลาเข้าพักในที่ร่ม หากต้องอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หรือถ้าต้องทำงานในสถานที่ที่มีอากาศร้อนตลอดทั้งวัน ควรสลับพักให้อยู่ในบริเวณที่มีอากาศเย็นขึ้น หรือจัดตารางเวลาให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้อุณหภูมิกายร้อนอย่างต่อเนื่อง
สวมเครื่องแต่งกายให้เหมาะกับสภาพอากาศ และการปฏิบัติงาน ไม่ควรสวมเสื้อผ้าหนาจนเกินไป หากต้องทำงานกลางแดด แต่ถ้าต้องสวมชุดรัดกุมทำงานในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง ควรคลายชุดเพื่อระบายความร้อน ในช่วงที่ได้พัก
เมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะเกิดการยับยั้งฮอร์โมน สำหรับการดูดน้ำกลับจากท่อไต (Antidiuretic Hormone หรือ Vasopressin) ทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ ร่างกายจึงสูญเสียทั้งน้ำและเกลือแร่ได้ง่ายขึ้น ทำให้โดนแดดแล้วเพลียมากกว่าเดิม
หากต้องทำงานกลางแดด หรือทำงานสถานที่ที่มีอากาศร้อน ควรมีการฝึกร่างกายให้ปรับตัว (Acclimatization) โดยใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน ถ้าหากเริ่มทำงานใหม่, เริ่มออกกำลังกายหรือฝึกใหม่ ไม่ควรให้อยู่กลางแดดเกิน 20% ของเวลางานทั้งหมด และหากต้องการปรับเพิ่มเวลาในการทำงานกลางแดด ไม่ควรเพิ่มเกินครั้งละ 20% จากของเดิม
หากปรับตัวได้แล้ว ไม่ควรอยู่กลางแดดเกิน 50% ของเวลางานทั้งหมดในช่วงแรก จากนั้นค่อยเพิ่มขึ้นวันละ 20% ได้ เพราะหากเริ่มทำงานหนักตั้งแต่วันแรก อาจเกิดภาวะเพลียจากแดด หรือมีอาการบาดเจ็บจากความร้อน (Heat-Related Illness) อื่น ๆ ได้
คนที่เพิ่งหายจากอาการเจ็บป่วย,การบาดเจ็บ, ผู้สูงอายุ หรือคนที่รับประทานยาขับปัสสาวะเป็นประจำ ไม่ควรอยู่กลางแจ้ง หรืออยู่ในบริเวณที่มีอากาศร้อนอบอ้าวเป็นเวลานาน เพราะร่างกายปรับตัวได้ไม่ดี ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ปริมาณสารน้ำ และเลือดในร่างกายมีน้อย อาจทำให้โดนแดดแล้วเพลียง่ายกว่าคนทั่วไป
ศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เพลียแดด และศึกษาอาการอ่อนเพลียจากแดดเบื้องต้น เพื่อให้สังเกตความผิดปกติได้ ตั้งแต่เริ่มมีอาการ และควรเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีดูแลเบื้องต้นด้วย
การรับประทานยาสมุนไพรคูลแคปเป็นประจำ จะช่วยดูแลร่างกายคุณจากภายใน เพราะสารออกฤทธิ์จากสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด (บอระเพ็ด, ส้มซ่า, โกฐน้ำเต้า และผักกาดน้ำ) จะลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น ทูเมอร์เนคโครซิส แฟคเตอร์ (Tumor Necrosis Factor, TNF), อินเตอร์ลิวคิน-1 (Interleukin-1, IL-1), อินเตอร์ลิวคิน-6 (Interleukin-6, IL-6) ซึ่งช่วยลดการอักเสบ ลดความร้อนจากระดับเซลล์ ทำให้ร่างกายได้ระบายความร้อน ช่วยแก้ร้อนในได้
นอกจากนี้ยาสมุนไพรคูลแคปยัง ช่วยลดไข้, ขับพิษ, ขับปัสสาวะและขับเหงื่อ ช่วยทำให้ร่างกายเย็นลง ปรับธาตุหยินหยาง ช่วยให้มีสมดุลที่ดีจากภายใน ลดความเสี่ยงจากอาการเพลียจากแดด และการบาดเจ็บจากความร้อนอื่น ๆ ได้ในระยะยาว
เมื่อรู้สึกเริ่มมีอาการอ่อนเพลียจากแดด เวียนศีรษะ, กระสับกระส่าย หรือรู้สึกคล้ายจะเป็นลม โดยเฉพาะถ้ามีเหงื่อออกมาก, ตัวเย็น, หายใจแรงขึ้น, รู้สึกหัวใจเต้นเร็ว ให้รีบเข้าที่ร่มทันที หรือหากอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ควรย้ายไปอยู่ในที่ที่ระบายอากาศได้ดีทันที
ดื่มน้ำเกลือจนรู้สึกไม่กระหาย โดยใช้น้ำอุณหภูมิปกติผสมกับเกลือ ในอัตราส่วนน้ำ 1 ลิตรต่อเกลือ 1 ช้อนชา ไม่ควรดื่มน้ำเย็นจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการหนาวสั่น จากอุณหภูมิที่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
นอนราบแล้วยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจ ประมาณ 45 องศา เพื่อเพิ่มปริมาณเลือดมาเลี้ยงศีรษะ ช่วยเพิ่มออกซิเจนเลี้ยงสมอง และเพื่อให้ระบบประสาทส่วนกลาง กลับมาทำงานได้อย่างปกติเร็วที่สุด
17 ส.ค. 2564