Last updated: 25 พ.ค. 2564 | 6847 จำนวนผู้เข้าชม |
หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ ส้มซ่า (Citrus aurantium L., Bitter Orange) ที่มักถูกหั่นฝอย อยู่ในเมนูอาหารโบราณอย่างหมี่กรอบ, ปลาแนม, ม้าฮ่อ หรือส้มฉุน เพราะคนรู้จักสรรพคุณของส้มซ่ามาอย่างช้านาน โดยเฉพาะกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากเปลือก ที่เป็นเอกลักษณ์ มักนิยมนำมาทำเป็นยาดมแก้วิงเวียนศีรษะ หรือนำมาสกัดเป็นยารักษาอาการไอ, แก้เจ็บคอ, ขับเสมหะ เพราะส้มซ่าสามารถลดการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ช่วยป้องกัน และบรรเทาความผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกายได้
ส้มซ่ามีสารต้านอนุมูลอิสระ ในกลุ่มสารประกอบฟีนอล (Phenols) หลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินซี และสารกลุ่มฟลาโวโนน (Flavonones) ที่มีปริมาณสูงมาก
สรรพคุณทางสมุนไพรของเปลือกส้มซ่า คือลดการเกิดพังผืด หรือรอยแผลเป็นในตับ (Liver Fibrosis) ที่จะนำไปสู่ภาวะตับแข็งได้
มีการทดลองโดยกลั่นสารสกัดจากส้มซ่า ให้กับผู้ป่วยก่อนผ่าตัด พบว่าสามารถช่วยลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้
ยาสมุนไพรคูลแคปอัดแน่นด้วยสมุนไพร จากธรรมชาติแท้ 100% ผลิตด้วยคุณภาพตามมาตรฐานของ GMP Asian จึงมีความสะอาดปลอดภัย มั่นใจได้ในทุกกระบวนการผลิต
สารสกัดส้มซ่าที่ถูกรวมไว้ในคูลแคป มีสารประกอบกลุ่มฟีนอล (Phenols) หลายชนิด ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้เซลล์ จึงสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเซลล์ และสารเคมีในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ช่วยลดการอักเสบ และกำจัดเชื้อโรค โดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง, โรคเบาหวาน, โรคอ้วน, โรคแผลในทางเดินอาหาร และช่วยลดความกังวล ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และหลับง่ายขึ้นอีกด้วย
เมื่อทำงานร่วมกับบอระเพ็ด (Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f. & Thomson), โกฐน้ำเต้า (Rheum palmatum L.) และผักกาดน้ำ (Plantago asiatica L.) จึงสามารถช่วยลดอาการเจ็บคอ, ขับเสมหะ, แก้ร้อนใน, ลดไข้, เป็นยาระบายอ่อน ๆ และช่วยปรับระบบการทำงานของร่างกาย ให้อยู่ในสมดุลปกติอีกครั้ง
สรรพคุณของส้มซ่ามีมากมาย ตามจำนวนของสารออกฤทธิ์ที่มีอยู่หลายชนิด เปรียบเสมือนยาจากธรรมชาติ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ที่ช่วยลดการอักเสบของร่างกาย ทำให้ห่างไกลจากโรคที่เกิดจากความเสื่อมตามวัย เมื่อถูกนำมารวมกับสมุนไพรตัวอื่นในคูลแคป จึงทำให้ยาสมุนไพรคูลแคป สามารถลดอาการเจ็บคอ, ขับเสมหะได้เป็นอย่างดี ทั้งยังแก้ร้อนใน, ลดไข้, ใช้เป็นยาระบาย และสามารถปรับธาตุร้อน-เย็นของร่างกาย ให้คืนสู่ปกติได้อีกครั้ง
[1] Suntar I, Khan H, Patel S, Celano R, Rastrelli L. An Overview on Citrus aurantium L.: Its Functions as Food Ingredient and Therapeutic Agent. Oxid Med Cell Longev. 2018 May 2;2018:7864269. doi: 10.1155/2018/7864269. PMID: 29854097; PMCID: PMC5954905.
[2] Dosoky NS, Setzer WN. Biological Activities and Safety of Citrus spp. Essential Oils. Int J Mol Sci. 2018 Jul 5;19(7):1966. doi: 10.3390/ijms19071966. PMID: 29976894; PMCID: PMC6073409.
17 ส.ค. 2564