Last updated: 2021-08-05 | 1487 จำนวนผู้เข้าชม |
ฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Hypogonadism) เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติของพันธุกรรม หรืออาจมีปัจจัยภายนอกรบกวน จนทำให้ระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติไป และอาจส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงทางกาย ที่อาจพบได้เอง ซึ่งหากสังเกตรู้เร็ว จะทำให้รับการแก้ไขได้ทัน และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศอย่างถาวรได้
โดยปกติสมองส่วนไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) จะหลั่งฮอร์โมน GnRH (Gonadotropin-Releasing Hormone) ไปกระตุ้นต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) เพื่อให้หลั่งฮอร์โมน FSH (Follicle-Stimulating Hormone) และ LH (Luteinizing Hormone) ไปกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชาย และการสร้างอสุจิให้เป็นไปอย่างปกติ
เกิดจากความผิดปกติของอัณฑะ ซึ่งเป็นแหล่งสร้างฮอร์โมนเพศโดยตรง ที่ทำให้ไม่สามารถสร้างฮอรโมนเทสโทสเตอโรนได้ พบได้ในโรคทางพันธุกรรม ที่ทำให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น Klinefelter syndrome หรืออาจเกิดจากความผิดปกติบางอย่าง ที่ทำให้มีอาการฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง เช่น
เมื่อตรวจเลือดจะพบว่า ระดับฮอร์โมน FSH และ LH จะสูง แต่ระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดจะต่ำ เพราะสมองพยายามหลั่งสารมากระตุ้นอัณฑะ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่อัณฑะก็ยังไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้
เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ซึ่งตรวจเลือดจะพบว่า ระดับฮอร์โมน FSH และ LH อาจต่ำ, ค่อนต่ำ หรือปกติ ร่วมกับมีระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดที่ต่ำ ซึ่งอาจเป็นพันธุกรรม หรือเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น
หลายคนมองหาวิธีทำให้น้องชายแข็งเร็ว เพื่อบรรเทาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยไม่ได้สังเกตความผิดปกติของอัณฑะ ซึ่งแท้จริงแล้วอาจเป็นสาเหตุหลักของอาการได้ อย่างเช่น มีการติดเชื้อเรื้อรังที่อัณฑะ, มีอัณฑะบิดขั้ว, มีเส้นเลือดขอดที่อัณฑะ, อัณฑะค้างไม่ลงถุง นอกจากนี้การวัดขนาดอัณฑะด้วยอุปกรณ์เทียบขนาด (Prader Orchidometer) จะช่วยบอกสาเหตุการเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายได้ โดยถ้าอัณฑะมีขนาด < 10 ซีซี อาจเป็นภาวะผิดปกติแต่เกิด หรืออาจเกิดเป็นจากสาเหตุภายนอก แต่น่าจะเกิดขึ้นก่อนวัยเจริญพันธุ์ แต่ถ้าอัณฑะใหญ่กว่าหรือเท่ากับ 15 ซีซีขึ้นไป น่าจะเป็นความผิดปกติ ที่เกิดหลังจากช่วงวัยรุ่นแล้ว
อาการฮอร์โมนเพศชายบกพร่องอย่างหนึ่ง ที่บางครั้งถูกมองข้าม คือภาวะที่ผู้ชายมีหน้าอกใหญ่ขึ้น (Gynecomastia) หรือบางครั้งเรียกว่า ผู้ชายมีนม ซึ่งถ้าเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่น้อยกว่า 6 เดือน ต้องสงสัยว่า เกิดจากการที่มีฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง จนขาดความสมดุลกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้เกิดการกระตุ้นเนื้อเยื่อเต้านม จนทำให้หน้าอกใหญ่ขึ้นมาได้ และบางครั้งอาจมีอาการเจ็บเต้านมร่วมด้วย แต่ทั้งนี้ต้องแยกกับการสะสมของไขมัน (Lipomastia) ในคนที่มีน้ำหนักตัวมากด้วย
การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังที่พบได้ เมื่อมีฮอร์โมนเพศชายต่ำคือ ขนตามร่างกายจะขึ้นน้อยลง โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า, รักแร้ และอวัยวะเพศ นอกจากนี้ยังสามารถสังเกต การแตกลายสีชมพูม่วงของผิวหนังบริเวณหน้าท้อง เพื่อใช้แยกภาวะนี้กับโรคคุชชิง (Cushing's syndrome) ที่เกิดจากการได้รับสเตียรอยด์มากเกินไป หรืออาจสังเกตจุดด่างดำสีน้ำตาลในร่มผ้า เพื่อใช้แยกกับภาวะที่ร่างกาย ได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปอีกด้วย
อาการฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง ที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุคือ ปวดกระดูกจากภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) แต่ถ้าหากมีกระดูกพรุน ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 50 ปี มีกระดูกแตกหัก หรือฟันหักง่ายกว่าคนปกติ ร่วมกับมีความผิดปกติอื่น อาจต้องนึกถึงภาวะฮอร์โมนต่ำมากขึ้น ส่วนที่อาจตรวจพบได้ง่ายสุด คือกระดูกสันหลัง ซึ่งถ้าส่วนสูงลดลงมากกว่า 4 ซม. หรือ 2.5 นิ้ว มีความเป็นไปได้มากว่า อาจเกิดภาวะกระดูกพรุนมาเป็นเวลานาน จากการขาดฮอร์โมนเพศ จนทำให้เกิดการกดทับกระดูกสันหลังเรื่อย ๆ จนแตกออก (Vertebral compression fracture) หรืออาจพบว่า มีหลังค่อม (Kyphosis) ร่วมด้วย นอกจากนี้อาจพบกล้ามเนื้อฝ่อ ได้มากกว่าคนวัยเดียวกันอีกด้วย
หากมีฮอร์โมนเพศชายที่ต่ำ ซึ่งเกิดจากก้อนเนื้องอกในสมอง อาจทำให้มีภาวะตาบอดครึ่งซีก (Hemianopsia) อาจมีลานสายตาที่ผิดปกติ หรือมีตามัวได้ ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอกด้วย
ฮอร์โมนเพศชายต่ำ เกิดได้จากความผิดปกติของอัณฑะเอง หรืออาจเป็นเพราะการหลั่งฮอร์โมนของสมองที่ผิดปกติ จนไม่สามารถกระตุ้นให้อัณฑะหลั่งฮอร์โมนเพศได้ ซึ่งบางคนพยายามหาวิธีทำให้น้องชายแข็งเร็ว โดยมองข้ามสาเหตุที่แท้จริงไป ทำให้พลาดโอกาสที่จะได้รักษา หรือบางคนอาจไม่ได้สังเกตความเปลี่ยนแปลงทางกาย เช่น มีอัณฑะผิดปกติ, ขนขึ้นน้อยลง, เต้านมใหญ่ขึ้น, กระดูกหักง่าย หรืออาจมีการมองเห็นที่ผิดปกติ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือน ที่จะช่วยทำให้คุณตระหนักถึงความผิดปกติได้เร็วขึ้น และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนที่จะกลายเป็นภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศแบบถาวร